ธุรกิจ (Business) หมายถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่ทำให้มีการผลิตสินค้าและบริการ มีการซื้อขายแลกเปลี่ยน จำหน่าย และกระจายสินค้า และมีประโยชน์หรือกำไรจากกิจกรรมนั้น ธุรกิจมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในสังคมปัจจุบันมาก เพราะนอกจากำจะเป็นองค์กรที่ผลิตสินค้าหรือบริการที่เป็นปัจจัยพื้นฐานของการดำรงชีวิต การประกอบธุรกิจต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นขนาดเล็กหรือชนาดใหญ่ สิ่งที่สำคัญคือกำไร เพราะเป็นแรงจูงใจของการดำเนินการทางธุรกิจ ก่อให้เกิดการเเข่งขันและการขยายตัวทางธุรกิจให้เจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น
สรุป ธุรกิจ เป็นกระบวนการในการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะได้รับผลกำไรหรือผลตอบแทนกลับคืนมา
ประเภทของธรุกิจ
การแบ่งประเภทของธุรกิจตามลักษณะของกิจกรรมที่ดำเนินการสามารถแบ่งออกได้ ดังนี้
1. ธุรกิจการเกษตร (Agriculture) ได้แก่ การทำนา การทำไร่ การทำสวน การทำป่าไม้ การทำปศุสัตว์ฯลฯ
2. ธุรกิจอุตสาหกรรม (Manufacturing) ได้แก่ ธุรกิจผลิตสินค้าเพื่ออุปโภค ทั้งในรูปแบบของอุตสาหกรรมในครัวเรือน และอุตสาหกรรมโรงงาน
3. ธุรกิจการพาณิชย์ (Commercial) เป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับกระจายสินค้าที่ผลิตจากอุตสาหกรรมต่างๆไปสู่ผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคได้อุปโภคบริโภคสินค้าตามความต้องการ ได้แก่ ธุรกิจพ่อค้าคนกลาง ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก ตัวแทนจำหน่ายสินค้าต่างๆ
4. ธุรกิจการก่อสร้าง (Construction) เป็นธุรกิจเกี่ยวกับในการนำวัสดุต่างๆ ได้แก่ อิฐ หิน ปูน ทราย มาใช้ในการก่อสร้าง เช่น การสร้างถนน อาคาร สำนักงาน เขื่อน โรงพยาบาล เป็นต้น
5. ธรุกิจการเงิน (Finance) เป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับส่งเสริมให้ธุรกิจอื่นทำงานได้คล่องตัวขึ้น เนื่องจากในการทำธรุกิจจะต้องเริ่มจากการลงทุน ซึ่งต้องใช้เงินในการลงทุน เช่น นำมาซื้อที่ดิน ปลูกสร้างอาคาร ฯลฯ
6. ธุรกิจให้บริการ (Service) เป็นธรุกิจที่เกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกสบายให้แก่ผู้บริโภค ได้แก่ ธุรกิจการขนส่ง ธุรกิจการสื่อสาร ธุรกิจการท่องเที่ยว ฯลฯ
7. ธุรกิจอื่น ๆ เป็นธุรกิจที่นอกเหนือจากธุรกิจประเภทที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ได้แก่ ผู้ประกอบธุรกิจอาชีพอิสระต่างๆ เช่น วิศวกร แพทย์ สถาปัตยกรรม ฯลฯ
1. ธุรกิจการเกษตร (Agriculture) ได้แก่ การทำนา การทำไร่ การทำสวน การทำป่าไม้ การทำปศุสัตว์ฯลฯ
2. ธุรกิจอุตสาหกรรม (Manufacturing) ได้แก่ ธุรกิจผลิตสินค้าเพื่ออุปโภค ทั้งในรูปแบบของอุตสาหกรรมในครัวเรือน และอุตสาหกรรมโรงงาน
3. ธุรกิจการพาณิชย์ (Commercial) เป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับกระจายสินค้าที่ผลิตจากอุตสาหกรรมต่างๆไปสู่ผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคได้อุปโภคบริโภคสินค้าตามความต้องการ ได้แก่ ธุรกิจพ่อค้าคนกลาง ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก ตัวแทนจำหน่ายสินค้าต่างๆ
4. ธุรกิจการก่อสร้าง (Construction) เป็นธุรกิจเกี่ยวกับในการนำวัสดุต่างๆ ได้แก่ อิฐ หิน ปูน ทราย มาใช้ในการก่อสร้าง เช่น การสร้างถนน อาคาร สำนักงาน เขื่อน โรงพยาบาล เป็นต้น
5. ธรุกิจการเงิน (Finance) เป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับส่งเสริมให้ธุรกิจอื่นทำงานได้คล่องตัวขึ้น เนื่องจากในการทำธรุกิจจะต้องเริ่มจากการลงทุน ซึ่งต้องใช้เงินในการลงทุน เช่น นำมาซื้อที่ดิน ปลูกสร้างอาคาร ฯลฯ
6. ธุรกิจให้บริการ (Service) เป็นธรุกิจที่เกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกสบายให้แก่ผู้บริโภค ได้แก่ ธุรกิจการขนส่ง ธุรกิจการสื่อสาร ธุรกิจการท่องเที่ยว ฯลฯ
7. ธุรกิจอื่น ๆ เป็นธุรกิจที่นอกเหนือจากธุรกิจประเภทที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ได้แก่ ผู้ประกอบธุรกิจอาชีพอิสระต่างๆ เช่น วิศวกร แพทย์ สถาปัตยกรรม ฯลฯ
วัตถุประสงค์ของธุรกิจ
ในการดำเนินการธุรกิจไม่ว่าจะเป็นประเภทใดๆ ก็ตาม ผู้ประกอบการจะมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินธุรกิจดังนี้1. ผลกำไร (Profit) วัตถุประสงค์สำคัญของการดำเนินธุรกิจคือ ผลกำไร ซึ่งเป็นผลตอบแทนของการลงทุนจากทรัพย์สิน แรงงานและความรู้ความสามารถผลกำไรจึงเป็นสิ่งจูงใจให้ดำเนินกิจกรรมต่อไปหากธุรกิจไม่มีผลกำไรก็จะไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้
2. ความอยู่รอด (Survival) เมื่อผู้ประกอบการตัดสินใจดำเนินธุรกิจแล้วย่อมต้องการให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ และมีกิจการที่ดำเนินการอย่างยาวนาน เพื่อทำหน้าที่ผลิตสินค้าและบริการตอบสนองความค้องการของผู้บริโภค และปเ็นความต้องการไม่มีที่สิ้นสุด แต่จะเพิ่มความต้องการมากขึ้น ทำให้ธุรกิจดำเนินไปได้
3. ความรับผิดชอบต่อสังคม (Social Responsibilities) ผู้ประกอบการที่ดีจะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ให้สอดคล้องกับความรับผิดชอบของธุรกิจคือมีความซื่อสัตย์กับลูกค้า สังคมและสิ่งแวดล้อม ด้วยการพัฒนาสังคมชีวิตความเป็นอยู่ของผู้บริโภคให้ดีขึ้นมีความยุติธรรมกับทุกคนในสังคมประพฤติปฏิบัติตนถูกต้องตามกฏหมาย ไม่ขัดต่อศีลธรรม ขนบธรรมเนียมประเภณีของสังคม
ประโยชน์ของธรุกิจ
1. ทำให้เกิดกระบวนการผลิตสินค้าและบริการ
เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ ซึ่งมีคาวมต้องการไม่มีที่สิ้นสุด เช่น เมื่อมีบ้านแล้วย่อมต้องการเฟอร์นิเจอร์ เครื่องปรับอากาศ เครื่องอำนวยความสะดวกสบายต่างๆภายในบ้าน เป็นต้น
2. ช่วยกระจายสินค้าจากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภค
องค์กรธุรกิจเมื่อผลิตสินค้าแล้ว ย่อมต้องการขายหรือจำหน่ายสินค้าออกสู่ผู้บริโภค ซึ่งอยู่กระจ่ายตามส่วนต่างๆ ของประเทศหรือกระจายอยู่ทั่วโลก
3. เกิดการจ้างงาน
ธุรกิจจำเป็นต้องจ้างบุคคลอื่นเข้ามาทำงานในกิจการ ทำให้ประชาชนมีรายได้จากการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมของผู้ผลิต หรือการเป็นพนักงานขายในร้านค้าปลึกต่างๆทำให้มีรายได้เมื่อคนมีรายได้จะนำไปซื้อหาสินค้าและบริการต่างๆ
4. ช่วยให้ประชาชนมีมาตรฐานการครองชีพดีขึ้น
การที่ประชาชนซึ่งอยู่ห่างไกลความเจริญมีงานทำและมีรายได้จากองค์กรธุรกิจ ทำให้มีโอกาศได้เลือกซื้อสินค้าและบริการที่มีคุณภาพดีขึ้น
5.เกิดความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
กิจกรรมทางธุรกิจก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เช่น มีเครื่องจักรที่ทันสมัยในการผลิตสินค้า มีเครื่องมือสื่อสารที่ก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เช่น จานดาวเทียม โทรศัพท์ ฯลฯ
ปัจจัยในการดำเนินธุรกิจ
การดำเนินธุรกิจต้องอาศัยหลายๆปัจจัยประกอบกัน จึงจะเกิดกิจกรรมในการประกอบธุรกิจจะขาดปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งไม่ได้ โดยทั่วไปปัจจัยพื้นฐาน ในการดำเนินธุรกิจมี 4 ประเภท ที่เรียกว่า 4M ได้แก่1. คน (Man) ถือว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด เพราะธุรกิจต่างๆ กเิดขึ้นได้ต้องอาศัยความคิดของคน มีคนเป็นผู้ดำเนินการหรือเป็นผู้จัดการ จึงจะทำให้เกิดกิจกรรมทางธุรกิจหลายรูปแบบ
2. เงิน (Money) เงินทุนเป็นปัจจัยในการดำเนินธุรกิจอีกชนิดหนึ่งที่ต้องนำมาใช้ในการลงทุน เพื่อให้เกิดการประกอบธุรกิจ โดยธุรกิจแต่ละประเภทใช้ปริมาณเงินทุนที่แตกต่างกัน
3. วัสดุหรือวัตถุดิบ (Material) ในการผลิตสินค้าต้องอาศัยวัตถุดิบในการผลิตค่อนข้างมาก ผู้บริหารจึงต้องรู้จัการบริหารวัตถุดิบให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดต้นทุนด้านวัตถุดิบต่ำสุด อันจะส่งผลให้ธุรกิจมีผลกำไรสูงสุดตามมา
4. วิธีปฏิบัติงาน (Method) เป็นวิธีการในการปฏิบัติงานในแต่ละขั้นตอนของการดำเนินธุรกิจ ซึ่งต้องมีการวางแผนและควบคุมเพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ เกิดความคล่องตัว สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกกิจการ
หน้าที่ในการประกอบธุรกิจ
ธุรกิจทุกประเภทต่างมีหน้าที่ในการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในด้านต่างๆ เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความพอใจสูงสุด เกิดอรรถประโยชน์สูงสุด สามารถบำบัดความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างสมบูรฯ์หน้าที่ดังกล่าว ได้แก่1. การผลิต (Production)
เป็นกิจกรรมในการแปรรูปวัตถุดิบให้เป็นสินค้าหรือบริการ ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ผู้ประกอบธุรกิจต้องพิจารณา ได้แก่
1.1 การเลือกทำเลที่ตั้ง (Place)
1.2 การออกแบบสินค้า (Design)
1.3 การกำหนดตารางเวลาการผลิต (Time Table)
1.4 การตรวจสอบสินค้า (Check)
2. การจัดหาเงินทุน (Capital)
เงินทุนถือว่าเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญในการประกอบธุรกิจ มาใช้ในการประกอบธุรกิจ ซึ่งมีแหล่งเงินทุน 2แหล่ง ดังนี้
2.1 แห่ลงเงินทุนภายใน (Internal Sources)
2.2 แหล่งเงินทุนภายนอก (External Sources)
เงินทุนถือว่าเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญในการประกอบธุรกิจ มาใช้ในการประกอบธุรกิจ ซึ่งมีแหล่งเงินทุน 2แหล่ง ดังนี้
2.1 แห่ลงเงินทุนภายใน (Internal Sources)
2.2 แหล่งเงินทุนภายนอก (External Sources)
3. การจัดการทัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management)
คนถือเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญมากที่สุดในการประกอบธุรกิจ ในการจัดหาทรัพยากรด้านกำลังคน ผู้ประกอบธรุกิจควรพิจารณาดังนี้
3.1 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ (human resource planning)
3.2 การสรรหาและการคัดเลือก (recruitment and selection process)
3.3 การบรรจุและการประเมินผลงาน (orientation and appraisal process)
3.4 การฝึกอบรมและการพัฒนา (training and development process)
3.5 กรบวนการทางด้านสุขภาพ ความปลอดภัย และแรงงานสัมพันธ์ (health, safety maintenance process and labor relation)
3.6 การใช้วินัยควบคุมตลอดจนการประเมินผล (discipline control and evaluation process)
คนถือเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญมากที่สุดในการประกอบธุรกิจ ในการจัดหาทรัพยากรด้านกำลังคน ผู้ประกอบธรุกิจควรพิจารณาดังนี้
3.1 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ (human resource planning)
3.2 การสรรหาและการคัดเลือก (recruitment and selection process)
3.3 การบรรจุและการประเมินผลงาน (orientation and appraisal process)
3.4 การฝึกอบรมและการพัฒนา (training and development process)
3.5 กรบวนการทางด้านสุขภาพ ความปลอดภัย และแรงงานสัมพันธ์ (health, safety maintenance process and labor relation)
3.6 การใช้วินัยควบคุมตลอดจนการประเมินผล (discipline control and evaluation process)
4. การบริหารการตลาด (Marketing Management)
เป็นกระบวนการที่ทำให้สินค้าหรือบริการถึงมือผู้บริโภค เพื่อตอบสนองความต้องากรและสร้างความพึงพอใจสูงสุดแก่ผู้บริโภค
เป็นเครื่องมือที่ทำให้ผู้บริโภคเกิดความพึงพอใจ ได้แก่
4.1 ผลิตภัณฑ์ (Product) คือ สิ่งที่ธุรกิจเสนอขายเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภค
4.2 ราคา (Price) มูลค่าผลิตภัณฑ์ในรูปตัวเงิน ผู้ประกอบธุรกิจต้องกำหนดราคาให้เหมาะสม
4.3 การจัดจำหน่าย (Place) คือ กิจกรรมการเคลื่อนย้ายผลิตภัณฑ์จากธุรกิจไปยังตลาดเป้าหมาย
4.4 การส่งเสริมการตลาด (Promote) คือ การติดต่อสื่อสารเกี่ยวกับข้อมูลระหว่างผู้ขายกับผู้ซื้อ
เป็นกระบวนการที่ทำให้สินค้าหรือบริการถึงมือผู้บริโภค เพื่อตอบสนองความต้องากรและสร้างความพึงพอใจสูงสุดแก่ผู้บริโภค
เป็นเครื่องมือที่ทำให้ผู้บริโภคเกิดความพึงพอใจ ได้แก่
4.1 ผลิตภัณฑ์ (Product) คือ สิ่งที่ธุรกิจเสนอขายเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภค
4.2 ราคา (Price) มูลค่าผลิตภัณฑ์ในรูปตัวเงิน ผู้ประกอบธุรกิจต้องกำหนดราคาให้เหมาะสม
4.3 การจัดจำหน่าย (Place) คือ กิจกรรมการเคลื่อนย้ายผลิตภัณฑ์จากธุรกิจไปยังตลาดเป้าหมาย
4.4 การส่งเสริมการตลาด (Promote) คือ การติดต่อสื่อสารเกี่ยวกับข้อมูลระหว่างผู้ขายกับผู้ซื้อ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น